วิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล จัดกิจกรรมวันสถาปนาครบรอบ 37 ปี

วิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล จัดกิจกรรมวันสถาปนาครบรอบ 37 ปี

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม The MUIC 37th Anniversary: Creating Global Citizens เพื่อเฉลิมฉลองวันสถาปนาครบรอบ 37 ปี ซึ่งกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การเสวนาหัวข้อ Health Innovation Design Collaboration โดย ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจุฬธิดา โฉมฉาย คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ ร่วมกับศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

จากนั้น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้เกียรติเสวนาพิเศษในหัวข้อ “Creating Global Citizens” และปิดท้ายกับกิจกรรมเสวนา “Lifelong Learning, Global Citizenship, and Sustainability” โดยศิษย์เก่าของวิทยาลัยนานาชาติ ได้แก่ คุณทศพล ศุภเมธีกูลวัฒน์ CEO CirPlas Tech Co., Ltd., คุณศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย Marine Biologist, Conservation photojournalist และคุณศุภาวรรณ ศุภณีดิส Film and Cultural Studies Enthusiast ณ ห้อง Screening Room วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติเข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เรื่องโครงการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน หลักสูตรวิชาโทสาขาวิชาการออกแบบนวัตกรรมด้านสุขภาพ (Designing Health Innovation) และหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบทางการแพทย์ (BioDesign) หลักสูตรนานาชาติ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี ศาสตราจารย์แพทย์หญิง จุฬธิดา โฉมฉาย คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ เป็นประธานในการกล่าวเปิดงาน และต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจุฬธิดา โฉมฉาย คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึงการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เรื่องโครงการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน หลักสูตรวิชาโท สาขาวิชา Designing Health Innovations หรือการออกแบบนวัตกรรมด้านสุขภาพ และหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบทางการแพทย์ (BioDesign) หลักสูตรนานาชาติ กับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลว่า

“วิทยาลัยนานาชาติฯ ได้เล็งเห็นว่า หลักสูตร BioDesign ซึ่งมีสอนอยู่ในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นหลักสูตรที่ดี สอนให้นักศึกษารู้จักคิด วิเคราะห์ ศึกษาวิจัย และนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มาใช้แก้ปัญหาต่างๆ ได้จริง จึงได้นำมาเป็นหลักสูตรวิชาโท (Minor) ให้นักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติฯ ในระดับปริญญาตรีทุกหลักสูตรได้ศึกษา ซึ่งผู้ที่เรียนจะมีความรู้ทางด้านนวัตกรรม และสามารถที่จะเป็นนวัตกรในสาขาที่ตัวเองสนใจได้”

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจุฬธิดา ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ที่ผ่านมาเราได้ทดลองสอนบางส่วนของหลักสูตรนี้ให้กับนักศึกษา MUIC แล้ว ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากนักศึกษาเป็นจำนวนมาก เพราะเขาสนใจในเรื่องของการที่เขาจะเอาวิทยาศาสตร์ไปใช้ในเชิงธุรกิจ ตอนนี้เรากำลังรอการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย และคาดว่าจะสามารถเปิดสอนได้ในภาคการศึกษาใหม่เดือนกันยายนที่จะถึงนี้”

วิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล จัดกิจกรรมวันสถาปนาครบรอบ 37 ปี

สำหรับหลักสูตรวิชาโทที่จะเปิดสอนมี 5 วิชา ประกอบไปด้วย 1. Community Health Innovations 2. Design Thinking in Health 3. Case Studies in Health Innovations 4. Cutting-Edge Technology for Health Innovations และ 5. Entrepreneurship and Innovation in Science

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจุฬธิดา ยังได้พูดถึงจุดเด่นของหลักสูตรวิชาโท BioDesign ว่า “หลักสูตรนี้จะเป็นการผสมผสานความรู้ทางการแพทย์ บวกกับความรู้ทางด้านการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของศิลปะหรือเรื่องของธุรกิจ มาร์เกตติ้ง โมเดลต่างๆ เข้ามาไว้รวมกัน เพื่อให้นวัตกรรมที่สร้างขึ้นนั้น สามารถนำเอาไปใช้ได้จริง”

ส่วนหลักสูตรนานาชาติ ระดับปริญญาโทวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการออกแบบทางการแพทย์ นั้น จะทำการเรียนการสอนที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยเป็นหลักสูตรที่คณาจารย์จากวิทยาลัยนานาชาติฯ ที่มีความชำนาญด้านอื่นๆ นอกเหนือจากด้านการแพทย์ จะเข้าไปร่วมทำการสอน เพื่อให้ผู้เรียนที่เป็นทั้งนักศึกษาแพทย์และสาขาอื่นๆ มีองค์ความรู้ที่กว้างมากยิ่งขึ้น

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจุฬธิดา ยังได้ฝากถึงสำหรับนักศึกษาที่สนใจหลักสูตร BioDesign ว่า “ความรู้ที่เป็นองค์รวม ความรู้ที่ผนวกเอาหลายๆ ศาสตร์เข้ามาด้วยกัน เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตและอาชีพในอนาคต”

ศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ทั้งสองสถาบันมีความเห็นตรงกันว่า หากได้แลกเปลี่ยนนักศึกษาซึ่งกันและกัน จะทำให้เกิดประโยชน์เป็นอย่างมาก เนื่องจากคณะแพทยศาสตร์ฯ มีหน้าที่ผลิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ขณะที่วิทยาลัยนานาชาติฯ มีความเชี่ยวชาญทางด้านศิลปะ ด้านการบริหารจัดการ ด้านธุรกิจ ซึ่งมีองค์ความรู้เกี่ยวกับความเป็นนานาชาติที่โดดเด่น เมื่อมาร่วมมือกันจัดการเรียนการสอน จะทำให้นักศึกษามีมุมมองวิสัยทัศน์ที่กว้างขวางมากขึ้น สามารถประยุกต์เอาความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำงานในอนาคตได้

“ทางศิริราชมีความสนใจที่จะทำงานด้านนวัตกรรมอยู่แล้ว แต่เราเป็นแพทย์ไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับธุรกิจ และการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เราจึงต้องมองถึงความยั่งยืน ความอยู่รอด การบริหารจัดการ การที่เราต้องคิดเรื่องใหม่ๆ ที่มีผลดีต่อตัวเราเอง มีผลดีต่อคนไข้ ต่อสังคมและประเทศชาติ โดยหลักสูตรนี้จะสร้างนวัตกรที่ไปทำงานด้านนวัตกรรมทางการแพทย์ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งที่เราสามารถที่จะทำตามนโยบายของประเทศ ให้ประเทศไทยเราเป็นฮับของเอเชียครับ”

“ต้องขอบคุณวิทยาลัยนานาชาติและมหาวิทยาลัยมหิดล ที่เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ ผมมั่นใจว่าหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ช่วยให้คนไทยเรามีความเข้มแข็ง ในการที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ และนักนวัตกรในอนาคต และช่วยสังคมไทยเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นครับ” ศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ kameoka-jc.net

แทงบอล

Releated